วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฮารูนยะฮฺยากับความสำเร็จในอินเตอร์เน็ต

http://newhumanist.org.uk/images/Adnan_Oktar_Agustos2007_02.jpg
โดย อัล อัค

คนที่ประสบความสำเร็จ(ในแง่งานดะอฺวะฮฺ)ผ่านเว็ปไซต์โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นอาเหล่ม(ผู้รู้ด้านศาสนา)คนนี้ชี่อว่าฮารูนยะฮฺยา เป็น คนตุรกี ซึ่งเป็นนามปากกาของเขาโดยชี่อจริงของเขาคืออัดนาน เขาเปิดเว็ปไชต์เมื่อสิบปีที่แล้ว ซึ่งหน้าตาเว็ปไซต์ในตอนนั้นค่อนข้างเชยมาก (ปัจจุบัน)ในเว็ปไซต์ของเขามีภาษาเป็นสิบภาษา

ฮารูนยะฮฺยาถูกรู้จักมากจากนักศึกษามหาวิทยาลัย งานเขียนของฮารูนยะฮฺยาเขียนในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ นำไปสู่การศรัทธาในพระเจ้า เขามีหนังสือกว่าสองร้อยเล่ม แล้วปล่อยฟรีในอินเตอร์เน็ตให้อ่านได้เต็มที่ โดยหน้าที่อย่างเดียวของเขาก็คือทำให้คนเชื่อในอัลลอฮฺว่าเป็นผู้สร้าง แล้วก็ต่อต้านทฤษฎีดาร์วินใน (คือทฤษฎี)เรื่องวิวัฒนาการ
แต่ว่ามีข้อควรระวัง ผมเคยแปลหนังของเขาเล่มหนึ่งแต่ไม่ได้เผยแพร่ แม้หนังสือเล่มนั้นจะไม่มีปัญหา เนื่องจากงาน(อื่นๆ)ของเขาหลายเล่มมีปัญหากับแนวคิดบางอย่างซึ่งไม่ใช่ เรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อย่างเรื่องคิลาฟหรือทรรศนะมุมมอง แต่เป็นปัญหาด้านอะกีดะฮฺซึ่งน่าจะมีปัญหากับแนวทางอะหฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะ ฮฺในหลายๆเรื่อง ซึ่งพูดยากว่าเขามีแนวคิดเดียวกับวะฮฺดะตุลวุญูด(1)หรือป่าว หนังสือของเขาหลายเล่มบ่งชี้ไปทางนั้น...
(เขายัง)มีปัญหาเรื่องอิมามมะฮฺดีเขารับแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างชีอะฮฺกับอะฮฺลุซซุนนะฮฺโดยเอามาหมด และไม่ค่อยเห็นใจการต่อสู้แบบรุนแรงของฮามาส(2) ค่อนข้างสมานฉันท์กับยิวและคริสต์ เพราะต่างเน้นแนวความเชื่อเรื่องพระเจ้า เอามาเป็นแนวร่วมต่อต้านลัทธิไม่มีพระเจ้าในยุโรป แต่ในทรรศนะของอิสลามผู้ที่เชื่อพระเจ้าแต่ไมได้เชื่อแบบเตาฮีดมีอยู่เยอะแยะ เช่น คริสต์ ยิว หรือฮินดูก็เชื่อเรื่องพระเจ้าแต่ไม่เชื่อแบบเตาฮีด ซึ่งก็คือมุชริกีน(ผู้ตั้งภาคี)ในมุมมองของอิสลาม
ฮารูนยะฮฺยาจะมีปัญหาในแนวนี้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบส่วนตัวผมที่จะไม่เผยแพร่งานของฮารูนยะฮฺยา แต่งานของเขามีคนแปลหลายเล่มแล้วในภาษาไทย แต่ก็เป็นงานที่ไม่มีปัญหา โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างของพระเจ้า ประวัติศาสตร์ชนชาติที่สูญหายไป ซึ่งพิมพ์โดยศูนย์หนังสืออิสลาม..

แต่ที่ผมต้องการจะบอกกับพวกเราคือ สื่อนั้นเราใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เราต้องระวังคือเนื้อหา ตัวเนื้อหาเป็นตัวที่สำคัญที่สุด เพราะตัวเนื้อหาเป็น “ของจริง” ซึ่งอาจจะผ่านทางหนังสือ ผ่านวิทยุ ผ่านโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตแต่มันก็คือเนื้อหาเดียวกัน ซึ่งตัวที่จะตัดสินว่าเป็นของจริงหรือของปลอมก็คือเนื้อหา ไม่ใช่ตัวสื่อ คนที่ใช้สื่อเก่งแบบฮารูนยะฮฺยา เขามีปัญหาเรื่องเนื้อหาหลายจุด ซึ่งเป็นเหตุที่เราไม่สามารถเผยแพร่งานบางอย่างของเขาได้ เพราะเราไม่อยากให้เด็กรับเนื้อหาบางอย่างที่ปนๆอยู่ข้างใน อันนี้คือเรื่องของฮารูน ยะฮฺยา...
สิ่งที่ผมอยากให้ข้อสังเกตบางอย่างคือความสำเร็จของฮารูนยะฮฺยา คือเขาสามารถเชื่อมการเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ตกับการเคลื่อนไหวที่อยู่ใน สนามจริงได้ เขาไม่เหมือนอุลามาอฺอย่างยูซุฟ ก็อรฺเฎาะวีย์หรือ ชัยคฺมุนัจญิด พวกเขาเป็นครูบาอาจารย์ เป็นคนที่สอนในมัสญิดซึ่งมีชีวิตจริงที่อยู่ในโลกความเป็นจริงของนักเผยแพร่อยู่แล้ว
แต่ฮารูนยะฮฺยาเกิดจากอินเตอร์เน็ต แต่เขาสามารถจะเอางานของเขามาใช้ในโลกความเป็นจริงได้ เขาจะจัดงานตามหนังสือของเขาเช่นหนังสือบางเล่มของเขาเป็นเรื่องการสร้างของ พระเจ้าเขาก็จะจัดเสวนาเรื่องการสร้าง หนังสือบางเล่มอาจชื่อเรื่องประชาชาติที่สูญหายไป เขาก็จะจัดงานสัมนาตามประเทศต่างๆ ที่อังกฤษ ที่ฝรั่งเศส ที่มาเลย์เซียก็เคยมาจัด โดยมีคนร่วมเป็นร้อยหรืออาจเป็นพันคน เขาสามารถนำความนิยมที่มีต่อเขาในอินเตอร์เน็ตมาแปลงเป็นสนามจริง และเคลื่อนไหวตามมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ สถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮฺถึงกับเคยไปสัมภาษณ์เขา ทำเป็นสกู๊ป ว่าเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่อิสลามในโลกสมัยใหม่


นื่คือตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่อิสลามในโลกสมัยใหม่ เป็นตัวอย่างของผู้ประสบความสำเร็จในโลกอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ

 .........................................
หมายเหตุ
(
1) วะหฺดะตุล วุญูด(เอกภาพ ของสิ่งที่มีอยู่) เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและสรรพสิ่ง ในที่นี่ผู้บรรยายหมายถึง แนวคิดที่เชื่อว่า พระเจ้าและสรรพสิ่งคือสิ่งเดียวกัน
(
2) ผู้บรรยายไม่ได้บอกว่าอิสลามสนับสนุนความรุนแรง แต่ในกรณีการต่อสู้ในสถาการณ์ของปาเลสไตน์นั้นไม่อาจปฏิเสธมิติของความรุนแรงได้


อ้างอิง http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=492&Itemid=30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น